ทำอย่างไรจึงจะสามารถหลีกเลี่ยงเชื้อราบนฉนวน
1.เลือกใช้วัสดุให้มีความเหมาะสม เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำฉนวนเป็นปัจจัยพื้นฐาน ควรใช้เป็นวัสดุที่ไม่ทำปฎิกิริยากับน้ำ(Non-Polar Polymer) เนื่องจากวัสดุที่เป็น Non-Polar จึงมีแนวโน้มว่าจะถูกทำลายโดยน้ำได้ยากกว่าวัสดุที่มีขั้ว (Polar Polymer) นอกจากนี้ วัสดุที่ดีต้องไม่เป็นอาหารหรือแหล่งอาหารของเชื้อรา ในบางครั้งอาจต้องใช้สาร Antimicrobial ช่วย โดยเฉพาะวัสดุที่มีส่วนเป็นอาหารของเชื้อราได้ง่าย โดยสาร Antimicrobial ที่ใช้จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตามสาร Antimicrobial ก็อาจไม่สามารถยับยั้งการเกิดเชื้อราได้เสมอไป หากเราใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือเลือกใช้ผิดประเภท หรือมีการเสื่อมสลายของตัววัสดุกลายเป็นอาหารของเชื้อราเอง
2. โครงสร้างของฉนวนไม่ควรให้น้ำซึมผ่านเข้าออกได้ง่าย โดยเฉพาะฉนวนที่ผลิตจากวัสดุที่ค่อนข้างไวต่อน้ำ
3.ใช้ความหนาให้เหมาะสม เพื่อลดความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวฉนวนและอุณหภูมิห้องให้เหลือน้อยที่สุด ป้องกันการเกิดหยดเหงื่อซึ่งเป็นแหล่งของความชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อราได้ดี
4. ติดตั้งฉนวนให้ถูกวิธี โดยให้มีอากาศไหลผ่านผิวฉนวน ที่สำคัญบริเวณจุดที่เป็นรอยต่อควรปิดให้สนิท เพื่อป้องกันความชื้นที่จะนำไปสู่การเกิดเชื้อราได้
ในปัจจุบันได้มีวิธีการทดสอบเรื่องการต้านทานเชื้อราในหลายๆมาตรฐาน เช่น ASTM G21 ซึ่งแต่ละมาตรฐานจะมีรายละเอียดและวิธีการทดสอบที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้สินค้า เราควรเลือกใช้ด้วยความรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในการนำไปใช้งานจริง