การช่วยให้บ้านเย็นนั้นทำได้หลายอย่างเช่น ปลูกต้นไม้ใหญ่รอบๆบ้าน เพื่ออาศัยร่มเงา ติดตั้งกันสาด ฝ้าชายคา ที่มีรูระบายอากาศ พื้นกระเบื้องสี รวมไปถึงการเลือกใช้หลอดไฟที่ประหยัดพลังงานไม่ร้อนไม่กินไฟ แต่อีกวิธีหนึ่งที่เป็นวิธีกันความร้อนเข้าสู่อาคาร บ้านได้ดีที่สุด คือการติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งในท้องตลาดมีให้เลือกหลากหลายชนิด การตัดสินใจเลือกนั้น ควรพิจารณาที่อะไร
1. แนะนำให้ดู 2 ตัวสำคัญ คือ ค่า K คือค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (Conductivity) ยิ่งน้อยยิ่งดี และค่า R (Resistivity) ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อประสิทธิภาพการกันความร้อนที่สูงสุด
2. ประเภทและชนิดของวัสดุกันความร้อน มีมากมายหลายชนิด และมีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยมีทั้งแบบแผ่น แบบพ่น และอื่น ๆ คุณสมบัติของฉนวนแต่ละชนิด ดังนี้
ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นหรือแบบม้วน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam) หรือ PE Foam วัสดุชนิดนี้ส่วนใหญ่จะรีดติดมากับหลังคาเหล็ก ปัญหาก็คือ เมื่อใช้งานไปสักพักจะเกิดการหลุดร่อนออกมาจากหลังคา เนื่องจากกาวที่ใช้รีดติดกับหลังคา ไม่สามารถใช้กับงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นประจำได้ (กลางวัน และกลางคืน) ทำให้กาวเสื่อมสภาพฉนวนจึงหลุดร่อนได้ง่าย ทั้งนี้เพื่อกำหนดราคาให้ฉนวนชนิดนี้ราคาถูก
โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam) หรือ PU วัสดุชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้วิธีฉีดโฟมกันความร้อนลงบริเวณใต้หรือบนแผ่นหลังคา เพื่อกันความร้อน วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง และทำให้หลังคามีสีของโฟมติดอยู่บนหลังคา และยังมีจุดอ่อน คือ เสื่อมสภาพได้ง่ายหากสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงเกินไป หรือโดนแสงแดด แสงสว่างนานๆ ผิว PU จะกรอบหลุดเป็นผงได้เช่นกัน และPU จะมีควันพิษ (HCN) เมื่อเกิดการเผาไหม้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตอีกด้วย
บับเบิ้ล (Bubble) ฉนวนประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นฟอยล์ประกบไว้กับบับเบิ้ลฟองอากาศ ปัญหาที่พบคือ ต้องระวังของมีคม เพราะอาจจะทำให้ฟองอากาศภายในฉนวนฉีกขาดได้ และถ้าฟองอากาศข้างในแตกจนหมดแล้ว คุณสมบัติในการป้องกันความร้อนจะลดลง เป็นเพียงแค่แผ่นสะท้อนความร้อนทั่วไปนั่นเอง
ฉนวนใยแก้ว (Fiber Glass) ลักษณะของฉนวนใยแก้วจะเป็นเส้นใยหนาพอง ฟู หุ้มด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ หากฟอยล์ขาด จะมีละอองฝุ่นใยแก้ว ที่มีลักษณะแหลมคม หลุดร่วงลงมาปนเปื้อนในอากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ นอกจากนี้ตัวฉนวนใยแก้วจะอมน้ำ อาจเกิดเชื้อราได้
ฉนวนยางอิลาสโตเมอร์ (Elastomer) วัสดุชนิดนี้เป็นฉนวนยางสังเคราะห์ ที่มีโครงสร้างเซลปิดเคลือบด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนจากการติดตั้ง
-มีน้ำหนักเบา และปลอดภัยในการใช้งาน เนื่องจากไม่แห้งกรอบ ไม่เป็นฝุ่นผง
-ไม่ลามไฟ และไม่เกิดควันพิษ และยังมีอายุการใช้งานยาวนาน
-ราคา นอกจากราคาต่อตารางเมตรที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อขั้นต้นแล้ว สิ่งสำคัญก็คือความคุ้มค่า และอายุการใช้งาน ความทนทานของฉนวนด้วย
-ความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน ฉนวนกันความร้อนที่ดี จะต้องไม่เกิดฝุ่นผง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่สำคัญต้องไม่ลามไฟ และไม่เกิดควันพิษ ขณะเผาไหม้ โดยเฉพาะสาร HCN ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต