การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน กลายเป็นหนึ่งในวิธีที่เจ้าของบ้านนิยมใช้เพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้านและช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาว แต่บางครั้งแม้จะติดตั้งไปแล้ว บ้านก็ยังคงร้อนอบอ้าวเหมือนเดิม ปัญหานี้มักเกิดจากข้อผิดพลาดบางอย่างที่หลายคนมองข้าม
หากคุณกำลังสงสัยว่าทำไมฉนวนถึงไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง ลองมาดู 5 จุดผิดพลาดที่ควรรู้ เพื่อให้การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและช่วยให้บ้านเย็นขึ้นอย่างแท้จริง
1. เลือกฉนวนกันความร้อนผิดประเภท
ฉนวนกันความร้อนมีหลากหลายประเภท ทั้งแบบเซลเปิด (Open-cell) และเซลปิด (Closed-cell) ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนต่างกันโดยสิ้นเชิง ฉนวนแบบเซลเปิดมีโครงสร้างที่มีช่องว่างภายใน อาจดูดซับความชื้นและกันความร้อนได้ไม่ดีนัก ในขณะที่ “ฉนวน AERO-ROOF” เป็นฉนวนแบบเซลปิดแท้ จะกันความร้อนและความชื้นที่จะเข้าสู่เนื้อฉนวนได้อย่างดี บวกกับมีค่าการนำความร้อนต่ำ (K-Value 0.035 w/mK) ทำให้สามารถป้องกันความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
การเลือกฉนวนที่ไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศและลักษณะบ้าน จึงอาจเป็นเหตุผลแรกที่ทำให้บ้านยังร้อนอยู่ แม้จะติดฉนวนแล้วก็ตาม
2. ติดตั้งฉนวนผิดจุดสำคัญ
ความร้อนสามารถเข้าสู่ตัวบ้านได้จากหลายทิศทาง ไม่ใช่แค่จากหลังคาเท่านั้น หลายคนมักโฟกัสเฉพาะการติดฉนวนใต้หลังคา โดยละเลยจุดสำคัญอื่นๆ เช่น ผนังทิศตะวันตกหรือหน้าต่างกระจกที่รับแสงแดดโดยตรง ซึ่งก็เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่สำคัญเช่นกัน การติดตั้งฉนวนกันความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเริ่มจากบริเวณที่รับแดดแรงที่สุด เช่น หลังคาและพิจารณาเสริมฉนวนในบริเวณอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันความร้อนรอบทิศทาง
3. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่ถูกวิธี
แม้จะเลือกใช้ฉนวน AERO-ROOF ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนคุณภาพสูง แต่หากติดตั้งผิดวิธี เช่น วางฉนวนไม่เต็มพื้นที่ หรือปล่อยให้มีรอยต่อก็อาจทำให้ความร้อนเล็ดลอดเข้ามาได้ การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ฉนวนกันความร้อนไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ยิ่งในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรเลือกทีมช่างที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว
4. ขาดระบบระบายอากาศในบ้าน
แม้จะติดตั้งฉนวนกันความร้อนแล้ว แต่หากบ้านไม่มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี ก็อาจเกิดการสะสมความร้อนภายในได้ อากาศร้อนจากแสงแดด เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้แต่กิจกรรมในบ้าน หากไม่มีทางระบายออกจะทำให้บ้านรู้สึกอบอ้าวอยู่ตลอดเวลา ทางที่ดีควรมีการออกแบบช่องลม หรือใช้พัดลมระบายอากาศควบคู่กับการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพื่อให้ระบบภายในบ้านทำงานได้สมดุลและมีอากาศถ่ายเทอย่างเหมาะสม
5. ผลกระทบจากวัสดุที่ดูดซับความร้อน
การเลือกสีหลังคาหรือวัสดุที่ดูดซับความร้อนสูง เช่น สีเข้ม อาจทำให้บ้านสะสมความร้อนได้มากขึ้น แม้ว่าจะมีฉนวนภายในแล้วก็ตาม การติดตั้งฉนวนยาง EPDM อย่างฉนวน AERO-ROOF ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่บ้านได้ดีขึ้น หากต้องการบ้านที่เย็นจริง ควรพิจารณาระบบทั้งหมด ตั้งแต่หลังคา ผนัง และวัสดุฉนวนกันความร้อนที่ใช้ให้เหมาะสม
ติดฉนวนกันความร้อนยังไงให้ได้ผลจริง?
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่ใช่แค่เรื่องของวัสดุ แต่ต้องมองให้ครบทั้งระบบ ตั้งแต่การเลือกประเภทฉนวน ตำแหน่งติดตั้ง วิธีติดตั้ง การถ่ายเทอากาศ ไปจนถึงวัสดุภายนอกของบ้าน หากคุณกำลังมองหาฉนวนกันความร้อนที่ตอบโจทย์ทุกข้อในเรื่องการป้องกันความร้อน ฉนวน AERO-ROOF คือทางเลือกที่มั่นใจได้
ด้วยโครงสร้างแบบเซลปิดแท้ ไม่ดูดซับความชื้น ไม่ลามไฟ ป้องกันรังสีความร้อน พร้อมลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ถึง 3–5°C และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ตลอดอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 10 ปี อีกทั้งวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงช่วยให้ติดตั้งง่ายและเหมาะกับบ้านทุกประเภท
ไม่อยากให้บ้านร้อนอีกต่อไป ถึงเวลามองหาฉนวนกันความร้อนที่เชื่อถือได้ หาซื้อ AERO-ROOF ฉนวนคุณภาพที่ให้มากกว่าความเย็น ได้ที่ตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้าน
– Global House
– Hardware House
– www.eastthailand.com
– www.microglassinsulation.com
– www.onestockhome.com
สอบถามเพิ่มเติมได้ทางเพจ Facebook: Aero-roof Thailand